Welcome to wellhealthcare

ท่าโยคะ เหมาะกับผู้สูงวัย - wellhealthcare

หนึ่งในปัญหาใหญ่ของผู้สูงวัย คือ ข้อ เข่าและหลัง ซึ่งการฝึกโยคะจะสามารถช่วยแก้ปํญหาเหล่านี้ได้ค่ะ โดยการออกกำลังกายผู้สูงอายุที่หันมาฝึกโยคะ ควรจะเริ่มจากระดับพื้นฐานอย่าง หฐโยคะ ซึ่งคือพื้นฐานหลักของโยคะ เหมาะกับผู้เริ่มต้น เพราะจะได้ตั้งแต่การฝึกการหายใจ การจัดท่วงท่า น้ำหนักการวางตำแหน่งมือและเท้า รวมถึงควรฝึก หยินโยคะ ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูการยืดหยุ่น ข้อต่อ ข้อเท้า ข้อต่อสะโพก เส้นเอน พังผืด เป็นการเปิดเนื้อเยื่อ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างง่ายดายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ฝึกจนคล่องขึ้นแล้วก็สามารถขยับไปในระดับที่สูงขึ้นได้ อายุไม่ได้เป็นอุปสรรคในการฝึกโยคะขั้นสูง แต่ทั้งหมดอยู่ที่จิตใจและร่างกายของผู้ฝึกเป็นหลักค่ะ ซึ่งท่าโยคะพื้นฐานที่ Wellhealthcare แนะนำให้ท่าโยคะ เหมาะกับผู้สูงวัย ได้ลองฝึกทำ มีทั้งหมด 3 ท่าด้วยกัน ดังนี้ค่ะ

3 ท่าโยคะ เหมาะกับผู้สูงวัย ฝึกได้ที่บ้าน

  1. ท่า Reclining Big Toe Pose

    จับเท้าหรือหัวแม่โป้งเพื่อดึงขาเข้าหาตัวหรือฉีกออกด้านข้าง ทำสลับข้างกัน สามารถยืนหรือนอนทำก็ได้เช่นเดียวกัน เป็นการเปิดสะโพก ยืดหลังและข้อต่อ

  2. ท่า Knees to Chest Pose

    นอนราบลงกับพื้น งอเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้นมากอดไว้ให้ชิดหน้าท้อง เกร็งท้อง ผงกหัวขึ้นมาให้คางจรดเข่า โดยสามารถหมุนไปทางซ้ายและขวา เพื่อช่วยยืดหลัง หน้าขาและนวดบริเวณช่วงท้อง กระตุ้นอวัยวะภายใน ช่วยระบบย่อยอาหารและขับลม

  3. ท่า Tree Pose

    ยืนตรงลงน้ำหนักที่เท้าซ้าย วางเท้าขวาที่ต้นขาด้านใน เปิดสะโพกไปทางด้านข้าง ประกบมือทั้ง 2 ข้างที่หน้าอกหรือยกสูงค้างไว้เหนือศีรษะ สำหรับผู้สูงวัยที่ทรงตัวได้ไม่ดี สามารถจับที่พนักเก้าอี้หรือเอามือพึงกำแพง เพื่อช่วยพยุงร่างกายแทนการประกบมือได้ กำหนดลมหายใจและสมาธิอยู่ที่ปลายจมูก ทำสลับข้างกัน ท่าต้นไม้นี้จะช่วยยืดกล้ามเนื้อต้นขา น่อง ข้อเท้า สันหลัง แขนและไหล่ เป็นการฝึกการทรงตัวและสร้างสมดุล

ท่าโยคะ เหมาะกับผู้สูงวัย การฝึกโยะคะที่ดีจะใช้แรงแต่น้อย ใช้ลมหายใจเยอะ จะทำให้ร่างกายรู้สึกเบาสบาย ไม่เจ็บไม่ปวด เพราะเราจะไม่ฝืนร่างกาย ทำได้แค่ไหนแค่นั้น ค่อยๆ พัฒนากันไปเรื่อยๆ ที่สำคัญจะมีสติ สมาธิ รู้สึกรักตัวเองมากขึ้น ร่างกายจะช่วยเป็นฐานที่มั่นคง ลมหายใจจะช่วยให้เรารู้สึกเบาและผ่อนคลาย ซึ่งการฝึกโยคะต้องอาศัยเวลา การรอคอย ฝึกฝนและอดทน ในหนึ่งสัปดาห์ควรหาเวลาฝึกประมาณ 3 – 5 ครั้ง จึงจะเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการฝึกค่ะ

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

สารบัญ
Wellhealthcare

บทความอื่นที่น่าสนใจ

ท่ายืดกล้ามเนื้อ - wellhealthcare

ท่ายืดกล้ามเนื้อ ศึกษาขั้นตอนที่ปลอดภัยและให้ผลดีต่อสุขภาพ

หลาย ๆ คนมักละเลยการทำท่ายืดกล้ามเนื้อเพื่อยืดเส้นยืดสายเมื่อออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ซึ่งขั้นตอนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญไม่แพ้การอุ่นเครื่องร่างกายก่อนลงสนาม ไม่ว่าจะออกกำลังกายแบบหนักหรือเบาก็ตาม

ง่วงนอนทั้งวัน - wellhealthcare

ง่วงนอนทั้งวัน เป็นปัญหาสุขภาพหรือไม่ รักษาอย่างไรให้ถูกวิธี

อาการง่วงนอนทั้งวัน นอกจากจะทำให้ไม่สดชื่นแล้ว ยังส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในการทำงานหรือการใช้ชีวิต หาสาเหตุของอาการง่วงนอนในระหว่างวันและวิธีแก้ไขที่เหมาะสม ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามจนทำให้ชีวิตยุ่งยากไปกว่าเดิม

เครื่องช่วงฟัง - wellhealthcare

เครื่องช่วยฟัง กับวิธีใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์ขยายเสียงสำหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน ทำให้สามารถได้ยินเสียงที่ดังและชัดเจนขึ้น ผู้ใช้งานจึงสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและใช้ชีวิตได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์หูคอจมูกหรือนักโสตสัมผัสวิทยา เพื่อเลือกใช้เครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย

ดูแลผู้สูงอายุในช่วง COVID-19 - wellhealthcare

ดูแลผู้สูงอายุในช่วง COVID-19 กลุ่มเสี่ยงที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

หากวิเคราะห์จากยอดผู้เสียชีวิตในประเทศไทยในตอนนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า โรคโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุมากกว่าช่วงวัยอื่น