Welcome to wellhealthcare

คอลลาเจนรักษาโรคข้อเสื่อมโรคข้อเสื่อม - wellhealthcare

คอลลาเจน คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ตามกระดูก กระดูกอ่อน รวมถึงเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายของสัตว์และมนุษย์ ด้วยคุณสมบัติเสริมสร้างความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ทำให้ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอลลาเจนจำนวนมาก ทั้งชนิดเม็ดหรือชนิดผงละลายน้ำ โดยต่างกล่าวอ้างสรรพคุณในการบำรุงให้ผิวอ่อนเยาว์ สว่างสดใส มีสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก หรือบางครั้งก็โฆษณาสรรพคุณด้านการบรรเทาอาการปวดจากโรคข้อโรคกระดูก ทว่าการใช้คอลลาเจนเสริมในรูปแบบต่าง ๆ นั้นมีประโยชน์จริงหรือ?

รู้จักคอลลาเจนและแหล่งของคอลลาเจน

โปรตีนคอลลาเจนนั้นประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เป็นกรดอะมิโน โดยจะเกิดการผลิตขึ้นเมื่อโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ปลา หรือผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหลายที่รับประทานเข้าไปถูกย่อยสลายจนแตกตัว และก่อตัวขึ้นใหม่เป็นโปรตีนในลักษณะอื่น ๆ เช่น โปรตีนที่ช่วยในกระบวนการรักษาแผล ซ่อมแซมกล้ามเนื้อ หรือคอลลาเจนนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะมีการผลิตคอลลาเจนน้อยลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ในช่วงอายุ 20 ปีต้น ๆ ผิวหนังของคนเราจะประกอบด้วยคอลลาเจนประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ แต่จะค่อย ๆ สูญเสียคอลลาเจนเหล่านี้ไปถึงปีละ 1.5 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้การเชื่อมต่อของเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอ่อนแอลง เป็นสาเหตุให้ผิวหนังเหี่ยวย่น มีริ้วรอย ขาดความยืดหยุ่น และบริเวณข้อต่อเริ่มไม่แข็งแรงตามไปด้วย

คอลลาเจนกับประโยชน์ทางการแพทย์

คอลลาเจนรักษาโรคข้อเสื่อมโรคข้อเสื่อม ทางการแพทย์ - wellhealthcare

นอกจากประโยชน์ด้านการบำรุงและชะลอการเสื่อมตัวของผิวหนังที่ได้รับความนิยม ยังมีคอลลาเจนอีกชนิดคือคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) ซึ่งพบมากในเนื้อเยื่อกระดูกและข้อต่อของร่างกาย ที่เชื่อว่าอาจมีคุณประโยชน์ในการรักษาอาการเจ็บอันเกิดจากโรคเกี่ยวกับกระดูกหรือข้อต่อ อาการเจ็บหลังการผ่าตัด หรืออาการปวดอื่น ๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับสรรพคุณด้านนี้ของคอลลาเจนล้วนแต่ยังมีไม่เพียงพอต่อการยืนยันอย่างแน่ชัด

คอลลาเจนรักษาโรคข้อเสื่อมโรคข้อเสื่อม

มีการใช้คอลลาเจนชนิดที่ 2 ในการรักษาผู้ป่วยที่เผชิญปัญหาเกี่ยวกับการเสื่อมตัวของข้อกระดูกจากการทบทวนงานวิจัยที่ศึกษาประสิทธิภาพของคอลลาเจนชนิดที่ 2 ผ่านกระบวนการย่อยบางส่วนต่อการรักษาโรคข้อเสื่อมหรือโรคความผิดปกติเกี่ยวกับข้อต่อชนิดอื่น ๆ พบว่าคอลลาเจนชนิดที่ 2 สามารถถูกดูดซึมผ่านลำไส้และไปสะสมในกระดูกอ่อนได้ ทั้งนี้ผู้วิจัยเชื่อว่าเนื่องจากคอลลาเจนชนิดที่ 2 มีกลไกการทำงานที่อาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับข้อต่ออย่างโรคข้อเสื่อมมีอาการดีขึ้น โดยช่วยการทำงานของข้อต่อและบรรเทาอาการปวดในทั้งชายและหญิงที่เป็นโรคข้อเสื่อม เข่าเสื่อม และโรคเกี่ยวข้อกระดูกได้อย่างปลอดภัย ซึ่งการศึกษาที่พบนี้ถือว่าคอลลาเจนรักษาโรคข้อเสื่อมเป็นแนวทางที่ดีสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต เพื่อจะสรุปว่าคอลลาเจนให้ผลดีในการรักษาโรคนี้จริงหรือไม่ และควรใช้อย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติที่เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูกข้อต่อที่เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของสารก่อภูมิต้านทาน (Autoantigen) ภายในข้อต่อ ซึ่งคอลลาเจนชนิดที่ 2 นั้นก็เป็นโปรตีนชนิดหลักในกระดูกอ่อนข้อต่อและสารก่อภูมิต้านทานที่สำคัญ ทำให้มีการศึกษาถึงประโยชน์ในด้านนี้ โดยงานวิจัยเมื่อนานมาแล้วทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการของโรครุนแรง ผลลัพธ์พบว่าผู้ป่วยเกิดอาการบวมและฟกช้ำในข้อต่อลดน้อยลง หลังจากรับประทานคอลลาเจนชนิดที่ 2 เป็นเวลา 3 เดือน ในขณะที่กลุ่มรับประทานยาหลอกที่ไม่เห็นผลลัพธ์ใด ๆ และมีผู้ป่วย 4 คน จากทั้งหมด 60 คนที่มีอาการของโรคทุเลาลงอย่างสมบูรณ์

ต่อมามีงานวิจัยที่ใช้อาสาสมัครร่วมทดลองในจำนวนที่มากขึ้น รวมทั้งหมด 274 คน ที่ป่วยด้วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยถูกแบ่งกลุ่มให้รับประทานคอลลาเจนชนิดที่ 2 ในปริมาณต่าง ๆ กันได้แก่ 20/100/500 หรือ 2500 ไมโครกรัมต่อวัน นาน 24 สัปดาห์ ผลลัพธ์ชี้ว่าการได้รับคอลลาเจนชนิดที่ 2 ในปริมาณ 20 ไมโครกรัม ส่งผลต่อการรักษาที่ดีและไม่พบอาการข้างเคียงจากการใช้แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม อีกงานวิจัยที่ใช้เวลาในการทดลองยาวนานกว่าและให้ผู้ป่วย 60 คนรับประทานคอลลาเจนชนิดที่ 2 ในปริมาณวันละ 0.25 มิลลิกรัม กลับไม่พบผลลัพธ์การรักษาที่ดีขึ้น โดยชี้ว่าคอลลาเจนชนิดที่ 2 มีประโยชน์เพียงเล็กน้อยและมีประสิทธิภาพไม่สม่ำเสมอ ด้วยผลการศึกษาที่ยังมีข้อแย้งและข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ นี้ จึงยังไม่อาจยืนยันสรรพคุณการรักษาโรครูมาตอยด์ของคอลลาเจนชนิดที่ 2 ได้

อาการปวดอื่น ๆ มีการกล่าวอ้างประโยชน์ของคอลลาเจนชนิดที่ 2 ว่าช่วยบรรเทาอาการเจ็บแม้แต่ในผู้ที่ไม่ได้มีโรคข้อหรือกระดูก เช่น อาการปวดข้อหลังการผ่าตัด อาการปวดหลังได้รับบาดเจ็บ ปวดหลัง และปวดคอ ดังการทดลองหนึ่งที่ให้สมาชิกชมรมกีฬาในมหาวิทยาลัย 147 คน แบ่งกลุ่มรับประทานเครื่องดื่ม 25 มิลลิลิตร ที่มีส่วนผสมของคอลลาเจนชนิดที่ 2 ปริมาณ 10 กรัม หรือยาหลอกเป็นเวลาต่อเนื่อง 24 สัปดาห์

หลังสิ้นสุดระยะการทดลอง ปรากฏว่านักกีฬาที่รับประทานเครื่องดื่มผสมคอลลาเจนมีอาการปวดข้อลดน้อยลง ซึ่งเท่ากับว่าคอลลาเจนชนิดที่ 2 นี้อาจมีสรรพคุณส่งเสริมสุขภาพข้อต่อและลดโอกาสเสื่อมของข้อต่อในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงอย่างนักกีฬาที่ต้องใช้งานข้อต่ออย่างหนักเป็นประจำ งานวิจัยนี้มีขนาดเล็กและข้อกำจัดการศึกษาบางประการ ทำให้ไม่สามารถยืนยันผลได้อย่างชัดเจน แต่นับว่าเป็นหนึ่งแนวทางที่น่าสนใจต่อการศึกษาประโยชน์ของคอลลาเจนด้านการบรรเทาอาการเจ็บต่อไป

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

สารบัญ
Wellhealthcare

บทความอื่นที่น่าสนใจ

ท่ายืดกล้ามเนื้อ - wellhealthcare

ท่ายืดกล้ามเนื้อ ศึกษาขั้นตอนที่ปลอดภัยและให้ผลดีต่อสุขภาพ

หลาย ๆ คนมักละเลยการทำท่ายืดกล้ามเนื้อเพื่อยืดเส้นยืดสายเมื่อออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ซึ่งขั้นตอนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญไม่แพ้การอุ่นเครื่องร่างกายก่อนลงสนาม ไม่ว่าจะออกกำลังกายแบบหนักหรือเบาก็ตาม

ง่วงนอนทั้งวัน - wellhealthcare

ง่วงนอนทั้งวัน เป็นปัญหาสุขภาพหรือไม่ รักษาอย่างไรให้ถูกวิธี

อาการง่วงนอนทั้งวัน นอกจากจะทำให้ไม่สดชื่นแล้ว ยังส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในการทำงานหรือการใช้ชีวิต หาสาเหตุของอาการง่วงนอนในระหว่างวันและวิธีแก้ไขที่เหมาะสม ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามจนทำให้ชีวิตยุ่งยากไปกว่าเดิม

เครื่องช่วงฟัง - wellhealthcare

เครื่องช่วยฟัง กับวิธีใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์ขยายเสียงสำหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน ทำให้สามารถได้ยินเสียงที่ดังและชัดเจนขึ้น ผู้ใช้งานจึงสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและใช้ชีวิตได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์หูคอจมูกหรือนักโสตสัมผัสวิทยา เพื่อเลือกใช้เครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย

ดูแลผู้สูงอายุในช่วง COVID-19 - wellhealthcare

ดูแลผู้สูงอายุในช่วง COVID-19 กลุ่มเสี่ยงที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

หากวิเคราะห์จากยอดผู้เสียชีวิตในประเทศไทยในตอนนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า โรคโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุมากกว่าช่วงวัยอื่น