Welcome to wellhealthcare

เจาะคอ วิธีช่วยเหลือผู้ป่วย กับเรื่องที่ควรรู้

เจาะคอ - wellhealthcare

การเจาะคอเป็นหัตถการรูปแบบหนึ่ง โดยแพทย์จะใส่ท่อหลอดลมคอผ่านผิวหนังที่ลำคอ เพื่อสร้างทางติดต่อระหว่างหลอดลมกับผิวหนังด้านหน้าของลำคอ ทำให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพสามารถหายใจและนำอากาศเข้าสู่ปอดได้โดยไม่ต้องผ่านทางจมูก ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องใช้เวลาปรับตัว ฝึกพูด ฝึกหายใจ และฝึกรับประทานอาหารใหม่หลังเจาะคอด้วย

ทำไมต้องเจาะคอ ?

เจาะคอ ทำไมต้องเจาะคอ - wellhealthcare

ผู้ป่วย หรือ ผู้สูงอายุบางรายอาจต้องเจาะคอด้วยเหตุผลบางประการ เช่น ช่วยบรรเทาการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ลดผลข้างเคียงจากการใส่ท่อช่วยหายใจเป็นเวลานาน สะดวกต่อการดูดเสมหะในหลอดลม และช่วยปกป้องทางเดินหายใจส่วนล่าง เป็นต้น

นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาเจาะคอผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มบุคคล ดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่มีอาหารหรือวัตถุขนาดใหญ่อุดตันทางเดินหายใจ
  • ผู้ที่ไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง หรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน
  • ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งบริเวณคอซึ่งไปกดทางเดินหายใจ เช่น มะเร็งกล่องเสียง เป็นต้น
  • ผู้ที่มีกล้ามเนื้อส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกลืน เส้นเสียง หรือกระบังลมเป็นอัมพาต
  • ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณช่องปาก คอ หรือผนังทรวงอกอย่างรุนแรง
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณรอบกล่องเสียง คอ รวมถึงกะโหลกศีรษะ
  • ผู้ที่สูดดมเขม่าควันหรือสารพิษที่ทำให้ทางเดินหายใจบวมและอุดตัน
  • ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการดูดเสมหะในท่อลมและหลอดลมบ่อยครั้ง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่มีสติ มีการติดเชื้อในปอด หรือมีเสมหะคั่งมาก ๆ ซึ่งไม่สามารถไอออกมาได้ดี
  • ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคท่อลมตีบ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดรุนแรง การติดเชื้อในปอด หรือมีเสมหะมากและไม่สามารถไอออกมาได้ เป็นต้น
  • ผู้ป่วยที่มีอาการโคม่า ไม่มีสติ หรือเป็นอัมพาต

การดูแลตนเองหลังเจาะคอ

เจาะคอ การดูแล - wellhealthcare

หลังการผ่าตัดเจาะคอเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยอาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายวัน ในช่วงแรกอาจรู้สึกเครียดหรือวิตกกังวลที่ไม่สามารถหายใจหรือพูดได้ตามปกติ ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการฝึกรับมือและดูแลตนเองหลังการเจาะคอจากแพทย์และพยาบาล โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

การพูด

หากพูดตามปกติ อากาศจะเคลื่อนผ่านเส้นเสียงด้านหลังลำคอ แต่หลังจากเจาะคอแล้ว อากาศจะผ่านทางท่อหลอดลมคอทำให้การเปล่งเสียงไม่เป็นไปอย่างที่เคย ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้วาล์วเปิดปิดที่ปลายท่อหลอดลมคอเพื่อกันลมออก และช่วยให้ผู้ที่เจาะคอสามารถพูดหรือเปล่งเสียงออกมาได้

การรับประทานอาหาร

ในช่วงแรกหลังการผ่าตัด ผู้ที่เจาะคออาจมีปัญหาในการกลืน แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะสามาถรับประทานอาหารได้ตามปกติ โดยอาจเริ่มจากการจิบน้ำทีละน้อย จากนั้นจึงค่อยเริ่มรับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารที่เคยรับประทานตามปกติ

การทำกิจกรรมต่าง ๆ

ผู้ที่เจาะคอสามารถทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังการเจาะคออาจต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้แรงมาก และจำเป็นต้องดูแลแผลจากการเจาะคอให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ซึ่งผู้ที่เจาะคออาจสวมใส่เสื้อผ้าหรือผ้าพันคอที่ช่วยปกปิดลำคอ เพื่อป้องกันน้ำ ฝุ่น หรือสิ่งสกปรกเข้าไปในท่อหลอดลมคอ

การทำความสะอาดบริเวณที่เจาะคอ

ผู้ที่เจาะคอจำเป็นต้องทำความสะอาดสายดูดเสมหะและท่อหลอดลมคอเป็นประจำ ซึ่งผู้ป่วยควรได้รับการฝึกฝนวิธีทำความสะอาดจากทางโรงพยาบาลจนสามารถทำได้อย่างถูกต้องก่อนกลับมาทำเองที่บ้าน เพื่อลดการสะสมของเสมหะและลดความเสี่ยงการติดเชื้อ

โดยการทำความสะอาดอุปกรณ์บริเวณที่เจาะคอ มีดังนี้

  • การทำความสะอาดสายดูดเสมหะ ควรล้างทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน โดยใช้สายดูดเสมหะดูดไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์จนกว่าเสมหะจะหลุดออกจากท่อด้านใน จากนั้นนำสายดูดเสมหะดูดน้ำเกลือล้างแผลล้างจนกว่าจะปราศจากไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ แล้วทำให้สายแห้งและใช้ผ้าขนหนูห่อไว้
  • การทำความสะอาดท่อหลอดลมคอชั้นใน ล้างมือให้สะอาดก่อนแล้วนำท่อหลอดลมคอชั้นในแช่ลงในภาชนะที่เตรียมสารสะลายเพอร์ออกไซด์เอาไว้ ขัดท่อให้สะอาดจนกว่าเสมหะจะหลุดออกหมด จากนั้นนำไปล้างด้วยน้ำเกลือล้างแผลจนกว่ากลิ่นของสารสะลายเพอร์ออกไซด์จะหมดไป แล้วเช็ดท่อให้แห้งและประกอบกลับสู่ที่เดิม

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

สารบัญ
Wellhealthcare

บทความอื่นที่น่าสนใจ

ท่ายืดกล้ามเนื้อ - wellhealthcare

ท่ายืดกล้ามเนื้อ ศึกษาขั้นตอนที่ปลอดภัยและให้ผลดีต่อสุขภาพ

หลาย ๆ คนมักละเลยการทำท่ายืดกล้ามเนื้อเพื่อยืดเส้นยืดสายเมื่อออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ซึ่งขั้นตอนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญไม่แพ้การอุ่นเครื่องร่างกายก่อนลงสนาม ไม่ว่าจะออกกำลังกายแบบหนักหรือเบาก็ตาม

ง่วงนอนทั้งวัน - wellhealthcare

ง่วงนอนทั้งวัน เป็นปัญหาสุขภาพหรือไม่ รักษาอย่างไรให้ถูกวิธี

อาการง่วงนอนทั้งวัน นอกจากจะทำให้ไม่สดชื่นแล้ว ยังส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในการทำงานหรือการใช้ชีวิต หาสาเหตุของอาการง่วงนอนในระหว่างวันและวิธีแก้ไขที่เหมาะสม ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามจนทำให้ชีวิตยุ่งยากไปกว่าเดิม

เครื่องช่วงฟัง - wellhealthcare

เครื่องช่วยฟัง กับวิธีใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์ขยายเสียงสำหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน ทำให้สามารถได้ยินเสียงที่ดังและชัดเจนขึ้น ผู้ใช้งานจึงสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและใช้ชีวิตได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์หูคอจมูกหรือนักโสตสัมผัสวิทยา เพื่อเลือกใช้เครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย

ดูแลผู้สูงอายุในช่วง COVID-19 - wellhealthcare

ดูแลผู้สูงอายุในช่วง COVID-19 กลุ่มเสี่ยงที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

หากวิเคราะห์จากยอดผู้เสียชีวิตในประเทศไทยในตอนนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า โรคโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุมากกว่าช่วงวัยอื่น