ท่ายืดกล้ามเนื้อ ศึกษาขั้นตอนที่ปลอดภัยและให้ผลดีต่อสุขภาพ

หลาย ๆ คนมักละเลยการทำท่ายืดกล้ามเนื้อเพื่อยืดเส้นยืดสายเมื่อออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ซึ่งขั้นตอนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญไม่แพ้การอุ่นเครื่องร่างกายก่อนลงสนาม ไม่ว่าจะออกกำลังกายแบบหนักหรือเบาก็ตาม เพราะการยืดกล้ามเนื้อจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ ประโยชน์ของท่ายืดกล้ามเนื้อ เมื่อนั่งหรืออยู่ในท่าทางเดิมต่อเนื่องเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อของคนเราจะหดตัวและยืดหยุ่นน้อยลง ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแอและไม่สามารถเหยียดตัวได้สุดเมื่อออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บและรู้สึกปวดเมื่อย อีกทั้งกล้ามเนื้อที่ไม่ยืดหยุ่นอาจทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวไม่ดีพอ จนเป็นเหตุให้มีอาการปวดข้อต่อตามมา ในส่วนของการทำท่ายืดกล้ามเนื้อนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำเป็นประจำ เพราะจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สามารถยืดเหยียดได้อย่างเต็มที่และมีความยืดหยุ่น ซึ่งจะส่งผลให้ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเต็มสมรรถภาพ ลดความฝืดของข้อต่อ บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ลดความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ และยังช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้คล่องตัวยิ่งขึ้นด้วย ท่ายืดกล้ามเนื้อมีกี่ประเภท ? ท่ายืดกล้ามเนื้อแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท และอาจมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้ การยืดกล้ามเนื้อแบบหดค้าง เป็นลักษณะการยืดกล้ามเนื้อที่นิยมที่สุด ทำโดยยืดเหยียดกล้ามเนื้อออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ขณะที่ทำต้องไม่รู้สึกเจ็บจนเกินไป ทำค้างไว้ประมาณ 30 วินาที อาจทำด้วยตนเองโดยออกแรงผลักหรือดึงให้กล้ามเนื้อเกิดแรงตึงขณะยืดเหยียด หรือให้ผู้อื่นช่วยออกแรงกดลงบนกล้ามเนื้อ หากไม่มีผู้ช่วยอาจใช้อุปกรณ์ช่วยเพิ่มแรงตึง เช่น ผ้าเช็ดตัว หรือยางยืด เป็นต้น การยืดกล้ามเนื้อแบบเคลื่อนไหว เป็นการยืดกล้ามเนื้อบริเวณที่ต้องใช้ในการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เช่น นักวิ่งอาจวิ่งสไตรด์ช้า ๆ ซึ่งเป็นการวิ่งแบบยกขาขึ้นมาสูงถึงระดับหน้าอกแล้วออกแรงแกว่งแขนไปด้วย เป็นต้น การยืดกล้ามเนื้อเดียวเพื่อกระตุ้น เป็นการทำซ้ำท่ายืดกล้ามเนื้อหลาย ๆ ครั้งใน 1 เซ็ต และแต่ละครั้งควรเพิ่มระดับการยืดเหยียดให้มากขึ้นทีละน้อย […]
ง่วงนอนทั้งวัน เป็นปัญหาสุขภาพหรือไม่ รักษาอย่างไรให้ถูกวิธี

อาการง่วงนอนทั้งวัน นอกจากจะทำให้ไม่สดชื่นแล้ว ยังส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในการทำงานหรือการใช้ชีวิต หาสาเหตุของอาการง่วงนอนในระหว่างวันและวิธีแก้ไขที่เหมาะสม ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามจนทำให้ชีวิตยุ่งยากไปกว่าเดิม เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่เคยเกิดอาการง่วงนอนในระหว่างวัน ซึ่งความอ่อนเพลียที่ทำให้รู้สึกง่วงเหงาหาวนอนนั้นหลายคนมักเข้าใจว่าเกิดการนอนหลับไม่เพียงพอ ทั้งที่จริงแล้วอาการง่วงนอนระหว่างวันเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมของตนเอง หรือเป็นผลกระทบจากปัญหาสุขภาพ โดยสาเหตุที่สามารถพบได้มีดังนี้ พฤติกรรมการใช้ชีวิต – พฤติกรรมบางอย่างที่เราทำเป็นประจำในทุก ๆ วันก็สามารถส่งผลให้เกิดอาการง่วงนอนในระหว่างวันได้ อย่างเช่น การนอนดึก ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอจนทำให้เกิดอาการง่วง นอกจากนี้ การนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หรือต้องเปลี่ยนไปทำงานในเวลากลางคืนก็เป็นสาเหตุทำให้รู้สึกง่วงนอนทั้งวันได้เช่นกัน ปัญหาสุขภาพจิต – การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพจิตและอารมณ์ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ โดยสาเหตุของอาการง่วงนอนส่วนใหญ่มักมาจากอาการเบื่อหน่าย ขณะที่ภาวะซึมเศร้าก็ส่งผลให้เกิดความอ่อนเพลียจนเป็นสาเหตุของอาการง่วงเหงาหาวนอน ปัญหาสุขภาพ – ปัญหาสุขภาพบางอย่างก็สามารถก่อให้เกิดอาการง่วงนอนได้ ได้แก่ โรคแพ้กลูเตน สำหรับคนที่แพ้โปรตีนกลูเตน หากรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีนกลูเตนจะก่อให้เกิดอาการแพ้ที่อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ท้องเสีย และโลหิตจางได้ โดยอาหารที่มีโปรตีนกลูเตน ได้แก่ ขนมปัง เค้ก หรือซีเรียล โรคโลหิตจาง อาการง่วงนอนจากโรคโลหิตจางนั้นโดยส่วนใหญ่จะมาจากภาวะขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเมื่อธาตุชนิดนี้มีในร่างกายไม่เพียงพอจะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าและอ่อนเพลียได้ โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) คือโรคที่เกิดจากการอ่อนเพลียอย่างรุนแรงติดต่อกันมานานมากกว่า 6 เดือน โดยโรคนี้อาจก่อให้เกิดอาการอื่น […]
เครื่องช่วยฟัง กับวิธีใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์ขยายเสียงสำหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน ทำให้สามารถได้ยินเสียงที่ดังและชัดเจนขึ้น ผู้ใช้งานจึงสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและใช้ชีวิตได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์หูคอจมูกหรือนักโสตสัมผัสวิทยา เพื่อเลือกใช้เครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย เครื่องช่วยฟัง คือ อะไร ? เครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์ขยายเสียงขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปข้างในหรือคล้องไว้หลังใบหู ภายในเครื่องช่วยฟังจะมีไมโครโฟนขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เก็บเสียง ซึ่งชิปคอมพิวเตอร์และเครื่องขยายจะปรับและแปลงเสียงให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน ก่อนจะส่งคลื่นเสียงเข้าไปในหูโดยผ่านเครื่องขยาย เพื่อให้ผู้ที่ใช้งานสามารถรับฟังเสียงได้ดีขึ้น ลดเสียงรบกวนในหู ทำให้หูได้ทำตามหน้าที่สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินเป็นเวลานาน ทั้งยังช่วยให้สามารถสื่อสารด้วยการฟัง พูด และใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นเดียวกับคนปกติ เครื่องช่วยฟังมีกี่ชนิด ? เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยินมีอยู่ 2 ชนิด คือ เครื่องช่วยฟังชนิดฟังเสียงทางอากาศ โดยใส่ไว้ที่หูเพื่อให้เสียงผ่านเข้าทางรูหู เครื่องช่วยฟังชนิดฟังเสียงทางกระดูก โดยให้เสียงผ่านเข้าทางหลังใบหู ทั้งนี้ เครื่องช่วยฟังมีทั้งชนิดที่ติดตั้งไว้ภายนอก และชนิดที่ต้องผ่าตัดฝังที่กะโหลกศีรษะโดยมีตัวรับเสียงอยู่ภายนอก ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่รูหูตีบ ไม่มีรูหู หรือมีหนองไหลออกจากรูหูตลอดเวลา นอกจากนี้ เครื่องช่วยฟังแต่ละชนิดจะทำงานต่างกันไปตามเทคโนโลยีทั้ง 2 ชนิดหลักที่ติดตั้งภายในอุปกรณ์ ดังนี้ เครื่องช่วยฟังแบบอนาล็อก ทำงานโดยแปลงและขยายคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ นักโสตสัมผัสวิทยาจะสั่งให้ทางผู้ผลิตตั้งโปรแกรมของเครื่องช่วยฟังตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย และผู้ใช้สามารถปรับโปรแกรมให้เข้ากับสถานการณ์ได้ ตั้งแต่ห้องเงียบ ๆ ไปจนถึงบรรยากาศและเสียงดังภายในร้านอาหารหรือโรงภาพยนตร์ ทั้งยังมีราคาถูกกว่าเครื่องช่วยฟังแบบดิจิทัล เครื่องช่วยฟังแบบดิจิทัล คลื่นเสียงที่ผ่านเครื่องช่วยฟังชนิดนี้จะถูกเปลี่ยนให้เป็นรหัสตัวเลขก่อนจะถูกขยายขึ้น ซึ่งรหัสตัวเลขจะมีข้อมูลเกี่ยวกับระดับเสียงหรือความดังของเสียง และสามารถตั้งโปรแกรมพิเศษเพื่อขยายความถี่บางช่วงได้มากกว่าที่อื่น ๆ เน้นรับเสียงจากทิศทางที่เฉพาะเจาะจง ทั้งยังช่วยให้นักโสตสัมผัสวิทยาสามารถยืดหยุ่นและปรับเครื่องช่วยฟังให้เข้ากับสถานการณ์เฉพาะหรือความต้องการของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น […]
ดูแลผู้สูงอายุในช่วง COVID-19 กลุ่มเสี่ยงที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

หากวิเคราะห์จากยอดผู้เสียชีวิตในประเทศไทยในตอนนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า โรคโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุมากกว่าช่วงวัยอื่น เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่จำนวนการเสียชีวิตจากโรคนี้มากที่สุด เราจึงควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงจากโรคและเพิ่มความใส่ใจในการดูแลผู้สูงอายุในช่วงนี้เป็นพิเศษ COVID-19 เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน ซึ่งการติดเชื้ออาจเกิดได้จากการสูดเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย หรือสัมผัสโดนเชื้อก่อนแล้วนำมาสัมผัสปาก จมูก หรือตา หากผู้สูงอายุเกิดการติดเชื้อโควิด-19 ก็อาจเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงและเสียชีวิต มาดูกันว่าปัจจัยใดที่เพิ่มความเสี่ยงนี้ให้มากขึ้น บทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน ทำไมผู้สูงอายุจึงไวต่อ COVID-19 มากกว่าวัยอื่น ? ปกติแล้ว ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอายุ 60-84 ปีขึ้นไปมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 4-11 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ป่วยที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไปจะอยู่ที่ประมาณ 10-27 เปอร์เซ็นต์ โดยมักมีแนวโน้มก่ออาการรุนแรงจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต เนื่องจากร่างกายที่เสื่อมสภาพไปตามอายุและโรคประจำตัว ดังนี้ มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ทำให้กระบวนการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพ อีกทั้งผู้สูงอายุบางรายยังอาจรับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันลดต่ำลง ร่างกายจึงกำจัดเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายได้ยาก และเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อมากขึ้น มีโรคประจำตัวรุนแรงหรือเรื้อรัง งานวิจัยจำนวนหนึ่งชี้ว่า ผู้ป่วยโควิด-19 อายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีปัญหาสุขภาพรุนแรงหรือเรื้อรังอย่างโรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ […]
อาหารอ่อน เป็นอย่างไร เหมาะกับใครบ้าง ?

อาหารอ่อนจำเป็นสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ทั้งผู้ที่อาจไม่สามารถเคี้ยวและกลืนอาหารได้ตามปกติ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ซึ่งการรับประทานอาหารอ่อนจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหาร และช่วยให้ระบบย่อยอาหารได้พักจากการทำงานหนักชั่วคราว อาหารอ่อน คือ อะไร ? อาหารอ่อน คือ อาหารที่ผ่านการสับ บด หั่น ปั่น หรือปรุงให้มีลักษณะอ่อนนิ่ม เพื่อให้เคี้ยวหรือกลืนได้ง่ายและดีต่อระบบย่อยอาหาร ซึ่งอาจช่วยลดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย รวมถึงลดการเกิดแก๊สในกระเพาะและลำไส้ที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง และไม่สบายตัว อย่างไรก็ตาม อาหารอ่อนอาจไม่สามารถให้คุณค่าทางโภชนาการที่จำเป็นในระยะยาวได้ จึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น อาหารอ่อนเหมาะสำหรับใคร ? อาหารอ่อนจำเป็นสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถเคี้ยวหรือกลืนอาหารได้ตามปกติ รวมถึงผู้สูงอายุและบุคคลในกลุ่มต่อไปนี้ ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ผู้ป่วยโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ ผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ ผู้ที่เข้ารับการถอนฟัน ผ่าฟัน หรือผ่าตัดภายในช่องปาก กระดูกกราม และขากรรไกร ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดลำคอ รวมถึงผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง และมะเร็งไทรอยด์ ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดกะโหลกศีรษะหรือสมอง การเตรียมอาหารอ่อน การเตรียมอาหารอ่อนสามารถทำได้เองที่บ้าน โดยเริ่มจากหั่นวัตถุดิบอย่างผักและเนื้อสัตว์ให้มีขนาดเล็กประมาณครึ่งนิ้วหรือเล็กกว่านั้น แล้วนำไปต้มในน้ำซุปให้นิ่มพอที่จะใช้ส้อมบด หรืออาจใช้เครื่องบดให้อาหารนิ่มละเอียดและสะดวกต่อการรับประทาน ตัวอย่างของอาหารอ่อน ได้แก่ ไข่ลวก ไข่ต้ม ไข่น้ำ ไข่ตุ๋น […]
วิธีตรวจชีพจร และสัญญานบอกอันตราย

ชีพจร ช่วยบอกอัตราการเต้นของหัวใจ หากระดับชีพจรเต้นอ่อนหรือแรงเกินไป รวมถึงเต้นผิดปกติ อาจแสดงถึงความผิดปกติของระบบหัวใจและการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยร้ายแรงได้ ดังนั้น การสังเกตระดับชีพจรอาจช่วยให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพ และสามารถรักษาป้องกันได้ทันการณ์โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ วิธีจับชีพจร โดยทั่วไป สามารถตรวจชีพจรได้ด้วยตนเองโดยการจับตามบริเวณต่าง ๆ ที่มีเส้นเลือดแดงอยู่ใกล้กับผิวหนัง เช่น ข้อมือและลำคอ ซึ่งมีวิธีการตรวจจับชีพจร ดังนี้ ข้อมือ ยื่นมือข้างหนึ่งไปข้างหน้า งอศอกเล็กน้อย และหงายฝ่ามือขึ้น จากนั้นวางนิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งลงเพื่อจับชีพจรที่ข้อมือบริเวณโคนนิ้วโป้ง กดนิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนผิวหนังเล็กน้อยจนกว่าจะรู้สึกถึงการเต้นของชีพจร หรือขยับตำแหน่งนิ้วทั้ง 2 เล็กน้อยจนกว่าจะจับชีพจรได้ ลำคอ วางนิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนลำคอบริเวณใต้กรามใกล้กับหลอดลม ซึ่งเป็นการจับชีพจรบริเวณเส้นเลือดแดงแคโรติดที่ไปเลี้ยงสมอง แต่จะสามารถวัดชีพจรได้ยากกว่าที่ข้อมือ โดยต้องไม่จับชีพจรที่คอพร้อมกันทั้งสองด้าน เพราะอาจทำให้หมดสติหรือเกิดอันตรายได้ และเมื่อรู้สึกถึงการเต้นของชีพจรจึงเริ่มนับอัตราการเต้นของชีพจรใน 1 นาที วัดชีพจร นับอย่างไร ? เมื่อจับชีพจรได้แล้ว ให้เริ่มนับอัตราการเต้นของชีพจรใน 1 นาที โดยอาจจับเวลา 1 นาทีแล้วนับจำนวนครั้งที่ชีพจรเต้น หรือจับเวลา 30 วินาทีแล้วนับจำนวนครั้งที่ชีพจรเต้นนำไปคูณด้วย 2 ส่วนการตรวจความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ ควรตรวจชีพจรแล้วเฝ้าสังเกตจังหวะชีพจรภายใน 20-30 วินาที ว่ามีความผิดปกติใด […]
ไทเก็กกับประโยชน์ต่อสุขภาพ เหมาะกับใคร และข้อควรระวังอะไรบ้าง

ไทเก็ก คือศิลปะการป้องกันตัวของจีนที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “Meditation in Motion” หมายถึง การทำสมาธิในขณะเคลื่อนไหว โดยในปัจจุบันนี้นับเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับลมหายใจคล้ายการทำสมาธิร่วมกับการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้า ๆ และสง่างาม จากท่าหนึ่งสู่อีกท่าหนึ่งโดยไม่หยุดเคลื่อนไหว ซึ่งแต่ละท่าได้แรงบันดาลใจมาจากท่าของสัตว์ เช่น ท่ากะเรียนขาวสยายปีก เป็นต้น ไทเก็กเป็นกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะคล้ายวงกลม ด้วยท่าทางที่นุ่มนวลและต่อเนื่อง ไม่ต้องออกแรงมาก มีแรงกระแทกต่ำ กล้ามเนื้อไม่ตึงหรือเกร็ง ข้อต่อตามจุดต่าง ๆ และเนื้อเยื่อไม่ยืดขยายมากเกินไปจนทำให้เกิดอันตราย โดยที่หลายคนเชื่อว่าการฝึกไทเก็กเป็นประจำอาจช่วยเพิ่มพลัง ทำให้ร่างกายแข็งแรง หรือป้องกันปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ เหมาะสำหรับทุกเพศและทุกวัย ไทเก็กจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการผ่อนคลายความเครียด หรือชื่นชอบการออกกำลังกายที่เคลื่อนไหวร่างกายช้าและนุ่มนวล ประโยชน์ของไทเก็ก ลักษณะเด่นของไทเก็กคือการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ นุ่มนวล ต่อเนื่อง และไม่ทำให้เหนื่อยหอบเหมือนกิจกรรมหรือการออกกำลังกายรูปแบบอื่น ซึ่งการฝึกไทเก็กอย่างถูกต้องและเป็นประจำ อาจส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เช่น เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทั้งกล้ามเนื้อส่วนบน กล้ามเนื้อส่วนล่าง กล้ามเนื้อแกนกลางของหน้าท้องและแผ่นหลัง รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นและความคล่องตัวให้แก่ผู้ที่ฝึกไทเก็กเป็นประจำ พัฒนาการทรงตัว การฝึกไทเก็กอาจช่วยพัฒนาการรับรู้ตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Proprioception) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ประสาทของหูชั้นในและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น และช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุอาจหกล้มได้ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาบางชิ้นได้แนะนำว่าการฝึกไทเก็กอาจช่วยลดความกลัวที่จะหกล้มได้อีกด้วย […]
คอลลาเจนรักษาโรคข้อเสื่อมได้ชัวร์หรือไม่ ?

คอลลาเจน คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ตามกระดูก กระดูกอ่อน รวมถึงเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายของสัตว์และมนุษย์ ด้วยคุณสมบัติเสริมสร้างความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ทำให้ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอลลาเจนจำนวนมาก ทั้งชนิดเม็ดหรือชนิดผงละลายน้ำ โดยต่างกล่าวอ้างสรรพคุณในการบำรุงให้ผิวอ่อนเยาว์ สว่างสดใส มีสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก หรือบางครั้งก็โฆษณาสรรพคุณด้านการบรรเทาอาการปวดจากโรคข้อโรคกระดูก ทว่าการใช้คอลลาเจนเสริมในรูปแบบต่าง ๆ นั้นมีประโยชน์จริงหรือ? รู้จักคอลลาเจนและแหล่งของคอลลาเจน โปรตีนคอลลาเจนนั้นประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เป็นกรดอะมิโน โดยจะเกิดการผลิตขึ้นเมื่อโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ปลา หรือผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหลายที่รับประทานเข้าไปถูกย่อยสลายจนแตกตัว และก่อตัวขึ้นใหม่เป็นโปรตีนในลักษณะอื่น ๆ เช่น โปรตีนที่ช่วยในกระบวนการรักษาแผล ซ่อมแซมกล้ามเนื้อ หรือคอลลาเจนนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะมีการผลิตคอลลาเจนน้อยลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ในช่วงอายุ 20 ปีต้น ๆ ผิวหนังของคนเราจะประกอบด้วยคอลลาเจนประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ แต่จะค่อย ๆ สูญเสียคอลลาเจนเหล่านี้ไปถึงปีละ 1.5 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้การเชื่อมต่อของเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอ่อนแอลง เป็นสาเหตุให้ผิวหนังเหี่ยวย่น มีริ้วรอย ขาดความยืดหยุ่น และบริเวณข้อต่อเริ่มไม่แข็งแรงตามไปด้วย คอลลาเจนกับประโยชน์ทางการแพทย์ นอกจากประโยชน์ด้านการบำรุงและชะลอการเสื่อมตัวของผิวหนังที่ได้รับความนิยม ยังมีคอลลาเจนอีกชนิดคือคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type […]
ปัสสาวะเล็ดในผู้สูงอายุ รู้จักสาเหตุและการรักษาปัญหาที่มาพร้อมวัยสูงอายุ

ปัสสาวะเล็ดเป็นอาการที่ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้ โดยอาจพบอาการปัสสาวะเล็ดขณะเคลื่อนไหว กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะราด ปัญหานี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อีกทั้งยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตและจิตใจของผู้สูงอายุด้วย ปัสสาวะเล็ดในผู้สูงอายุเกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่จะพบในผู้หญิงมากกว่า ซึ่งสาเหตุของปัสสาวะเล็ดในผู้สูงอายุอาจมาจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่มีความแข็งแรงลดลง เส้นประสาทเสียหาย ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น หรืออาจเป็นผลจากการใช้ยาบางชนิด แต่ปัญหานี้สามารถบรรเทาและรักษาได้หลายวิธี ทำไมผู้สูงอายุเสี่ยงต่อปัญหาปัสสาวะเล็ด ? อย่างที่ทราบกันดีว่าอายุที่เพิ่มขึ้น ร่างกายส่วนต่าง ๆ ก็จะเริ่มเสื่อมและทำงานได้น้อยลง อีกทั้งโรค ยา และการใช้ชีวิตก็อาจเพิ่มความเสี่ยงของอาการปัสสาวะเล็ดมากขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้สูงอายุบางคนจะประสบกับปัญหานี้ โดยส่วนหนึ่งอาจมาจากสาเหตุต่อไปนี้ อาการท้องผูก เพราะลำไส้ตรง (Rectum) ส่วนที่ติดกับทวารหนักใช้เส้นประสาทบางส่วนร่วมกับกระเพาะปัสสาวะ เมื่อมีก้อนอุจจาระที่แข็งค้างอยู่ในลำไส้ตรงอาจกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทในบริเวณนั้น ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะทำงานมากกว่าปกติหรือรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยจนทำให้ปัสสาวะเล็ดแบบชั่วคราวได้ การติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศหญิงหรือการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรงจึงทำให้กล้ามเนื้อหูรูดปิดไม่สนิท หรือกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานมากกว่าปกติ เมื่อมีปริมาณปัสสาวะมากก็อาจทำให้ปัสสาวะเล็ดและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นต้น เส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปัสสาวะเสียหาย โดยอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บหรือโรคอื่น เช่น โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) เป็นต้น กระบังลมหย่อน (Pelvic Organ Prolapse) ส่งผลให้อวัยวะในบริเวณอุ้งเชิงกรานหย่อน อย่างมดลูก ลำไส้ และกระเพาะปัสสาวะ โรคต่อมลูกหมากอักเสบ […]
ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพตนเองอย่างไร ?

ผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป คนวัยนี้มักมีลักษณะภายนอกเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีริ้วรอยบนใบหน้า รูปร่างเตี้ยลง เป็นต้น นอกจากนั้น ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพตนเองอย่างไร เมื่อประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายและสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ก็ลดลงด้วย จึงส่งผลให้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ไม่คล่องแคล่ว หรือเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยมากขึ้น ซึ่งการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับอายุ อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดี และช่วยให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้เป็นปกติหรือชะลอการเสื่อมของร่างกายลง ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพตนเองอย่างไร กับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อายุที่มากขึ้นส่งผลให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป และอาจมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ดังนี้ ผม โครงสร้างของเส้นผมที่อ่อนแอลงทำให้ผมขาดหลุดร่วงได้ง่าย ผู้สูงอายุบางรายบางรายอาจรู้สึกคันหนังศีรษะเพราะผมที่แห้งและหนังศีรษะขาดความชุ่มชื้น เล็บ ผู้สูงอายุมักมีเล็บที่เปราะและแตกหักง่าย ผู้สูงอายุหลายรายอาจมีเล็บเท้าหนาขึ้น และยังเสี่ยงเป็นโรคเชื้อราที่เล็บด้วย ผิวหนัง ผิวของคนวัยนี้จะหย่อนคล้อย บอบบาง และแห้งกร้านกว่าวัยหนุ่มสาว เนื่องจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังผลิตไขมันออกมาน้อยลง อีกทั้งยังสังเกตเห็นริ้วรอย จุดด่างดำ ฝ้า กระ หรือรอยฟกช้ำต่าง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คนวัยนี้จึงควรใช้ครีมบำรุงผิวและครีมกันแดดเป็นประจำ เพื่อฟื้นฟูผิวและช่วยปกป้องผิวจากสิ่งรบกวนภายนอก เช่น แสงแดด มลพิษทางอากาศ เป็นต้น […]